ติดตั้ง Ansible Tower เพื่อลองเล่นหน่อย
Installing Ansible Tower (For Testing)
— — — — — — — — — — — — — — —
สารบัญเนื้อหาทั้งหมด (My Contents)
— — — — — — — — — — — — — — —
คือผมมีไอเดียที่กำลังจะทำ infrastructure automation ทั้งในส่วนของ network, server และ cloud ให้กับ enterprise พอดี ซึ่ง Ansible Tower เองก็เป็นหนึ่งใน tool ที่ผมสนใจอยู่ด้วย จึงเป็นที่มาของบทความนี้ครับ
ซึ่งใครที่อยากลองเล่นหรือทดสอบการใช้งาน Ansible Tower นั้น ทาง Red Hat เค้ามีให้ trial ได้ทั้งหมด 60 วันครับ
เตรียม Server สำหรับ Ansible Tower
โดย resource ในการ test ผมใช้ดังนี้
- OS: CentOS 8.3.2011 (with GUI)
- CPU: 4 cores
- Memory: 8 GB
- Storage: 50 GB
ดาวน์โหลด Ansible Tower
ไปที่ link ด้านล่างนี้ครับ
แล้วคลิกที่ Try it free ได้เลย
ทำตามขั้นตอนของเค้า(ซึ่งต้องใช้ Red Hat account ด้วย) จากนั้นก็ดาวน์โหลดไฟล์ลงบน server ที่เราเตรียมไว้เมื่อกี้ครับ จะได้ ansible-automation-platform-setup-bundle-1.2.1–1.tar.gz ครับ เสร็จแล้วก็แตกไฟล์ออกมา
เตรียม Trial License
ให้เข้าไปที่ https://access.redhat.com ครับ เมื่อ login มาแล้วคลิกที่ SUBSCRIPTIONS ด้านซ้ายบน
เมื่อเข้าไปแล้วจะเห็นว่าเรามี subscription ของ Ansible Tower อยู่ 60 วัน
จากนั้นให้ทำตาม document ตัวนี้
https://access.redhat.com/articles/3186691
อธิบายคร่าว ๆ ดังนี้
- สร้าง Subscription Allocation ขึ้นมา
- เพิ่ม subscription (Ansible Tower ของเรา) เข้าไป
- ดาวน์โหลด manifest มาใช้ในการ activate
จากรูปจะเห็นว่าผมได้ไฟล์ชื่อ manifest_ansible_tower_xxxxx.zip มาแล้ว
ขั้นตอนการติดตั้ง Ansible Tower
ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก document ตัวนี้ได้
https://docs.ansible.com/ansible-tower/latest/html/quickinstall/index.html
ซึ่งจะเห็นว่ามีหลาย scenario ในการติดตั้งครับ ส่วนตัวผมเพื่อลองเล่นเฉย ๆ จึงเลือกแบบ Single Machine (Standalone Tower with database on the same node as Tower) หรือพูดง่าย ๆ ว่าตัว Ansible Tower มีเครื่องเดียว และ database เองก็อยู่ในเครื่องเดียวกันนี้ด้วย
ติดตั้ง Ansible
sudo yum -y install ansible
เตรียมไฟล์ inventory
ให้เข้าไปที่ directory ชื่อ ansible-automation-platform-setup-bundle-1.2.1–1 ที่เราแตกไฟล์ไว้แต่แรก จะเห็นไฟล์ inventory ให้แก้ตามด้านล่างนี้
[tower]
localhost ansible_connection=local
[database]
[all:vars]
admin_password='XXXXX'
pg_host=''
pg_port=''
pg_database='awx'
pg_username='awx'
pg_password='XXXXX'
rabbitmq_username=tower
rabbitmq_password='XXXXX'
rabbitmq_cookie=cookiemonster
เริ่มติดตั้ง Ansible Tower
เปิด terminal ขึ้นมาแล้วรัน command ตามนี้
cd Downloads/ansible-automation-platform-setup-bundle-1.2.1-1/
sudo ./setup.sh
จากนั้นก็รอจนเสร็จครับ
Login เข้า Ansible Tower
เมื่อติดตั้งเสร็จก็ให้เข้าไปที่ IP ของ server จากนั้นก็ login ด้วย admin
เมื่อ login (ครั้งแรก)ไปแล้วจะเจอหน้า license ครับ ก็ browse ไฟล์ manifest ของเราเข้าไปก็เป็นอันเรียบร้อย
ถ้าคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ ฝากกด clap, follow และ share บทความนี้ให้ผมด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ