ต้องเรียนรู้ Networking แค่ไหนสำหรับ Cloud Engineer
Fundamentals of Networking for Cloud Engineers
— — — — — — — — — — — — — — —
สารบัญเนื้อหาทั้งหมด (My Contents)
— — — — — — — — — — — — — — —
พอดีมีน้องคนหนึ่งหลังไมค์มาถามผมว่า “Cloud Engineer ควรจะต้องสอบ CCNA หรือไม่?” ประกอบกับตัวผมเองก็เป็น Network Engineer มาก่อนก็เลยเกิดเป็นไอเดียในการเขียนบทความนี้ขึ้นมาครับ
ความสัมพันธ์ระหว่าง CCNA และ Cloud Network
หากเรามองว่าเนื้อหา CCNA เป็นตัวแทนฝั่ง On-premise Network (Traditional Network) ดังนั้นเมื่อนำไปเทียบกับเนื้อหาของ Cloud Network (ยกตัวอย่างเป็น AWS) มันจะได้ภาพประมาณนี้ครับ
สีแดง = ความรู้ On-Premise Network ที่ไม่มีบน Cloud Network
- ความรู้ Network ทุกอย่างที่เกี่ยวกับ Physical หรือ Hardware เช่น เรื่อง UTP, Optical Cable, Speed หรือ Standard ของ Media ทั้งหลาย รวมถึงการจัดการสิ่งต่าง ๆ บนอุปกรณ์ทั้งหมด เช่น Provisioning, Configuring, OS Upgrading และงาน Maintenance ต่าง ๆ
- Protocol พวกนี้ ARP, VLAN, Trunking, CDP, LLDP, LAG, LACP, STP, MSTP, HSRP, VRRP, RIP, EIGRP, OSPF, IS-IS, VXLAN, MPLS LDP, RSVP, Segment Routing, EVPN และอื่น ๆ อีกมากมายที่แทบจะไม่ได้เจอเลย
- แม้เป็น Hybrid Infrastructure ก็แทบไม่มีโอกาสได้ใช้ เพราะโดยมากมักจะมีทีม Network หรือ System Engineer ช่วย Support อยู่แล้ว
สีส้ม = ความรู้ On-Premise Network ที่มีบน Cloud Network
- พื้นฐานของ IP Address ทั้งหมด รวมถึงการทำ Subnetting, VLSM, Routing รวมถึงพื้นฐาน IPv6 ด้วย
- คอนเซ็ปต์และการทำงานเบื้องต้นของ Protocol ที่คนทำสาย IT ทุกคนควรรู้ เช่น Telnet, SSH, FTP, SFTP, ICMP (Ping และ Traceroute), DHCP, DNS, VPN, HTTP, SSL/TLS เป็นต้น
- BGP เป็น Routing Protocol ตัวเดียวที่มีโอกาสได้ใช้(แต่ไม่มาก)บน Cloud และจะใช้แค่ในระดับ Basic เท่านั้นครับ
สีเหลือง = ความรู้ Cloud Network ที่ไม่มีบน On-Premise Network
- บน Cloud มีเรื่อง Network เฉพาะทางมากมายที่เราต้องเรียนรู้ใหม่ และบ่อยครั้งจะมีการมองภาพที่ไม่เหมือนกับ On-premise ซะทีเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะใช้พื้นฐานความรู้จาก “พื้นที่สีส้ม” ที่ผมได้กล่าวไป
Cloud Engineer ต้องสอบ CCNA หรือไม่?
ส่วนตัวผมว่าไม่จำเป็นเพราะมันมีส่วนเกินเสียเยอะ ซึ่งตอนนี้ผมเปิด Official Cert Guide ของ CCNA 200–301 อยู่และพบว่ามีเนื้อหาเพียง 35% หรือ 40% เท่านั้นที่จำเป็นสำหรับงาน Network บน Cloud ได้แก่
Part 1: Introduction to Networking
- Chapter 1. Introduction to TCP/IP Networking
- Chapter 2. Fundamentals of Ethernet LANs
- Chapter 3. Fundamentals of WANs and IP Routing
Part 2: Implementing Ethernet LANs
- Chapter 5. Analyzing Ethernet LAN Switching
Part 4: IPv4 Addressing
- Chapter 11. Perspectives on IPv4 Subnetting
- Chapter 12. Analyzing Classful IPv4 Networks
- Chapter 13. Analyzing Subnet Masks
- Chapter 14. Analyzing Existing Subnets
Part 5: IPv4 Routing
- Chapter 16. Configuring IPv4 Addresses and Static Routes
- Chapter 18. Troubleshooting IPv4 Routing
Part 7: IP Version 6
- Chapter 22. Fundamentals of IP Version 6
- Chapter 23. IPv6 Addressing and Subnetting (ไม่รีบ)
ถ้าหากคุณผ่านเนื้อหาด้านบนเรียบร้อยก็ให้โฟกัส Cloud Network ตาม Learning Path ของ Cloud Platform ที่คุณทำอยู่เลยครับ ไม่มีอะไรให้ต้องหันกลับไปเรียนจาก Cisco อีกแล้ว
เพิ่มเติมเรื่อง Linux Networking
เนื่องจากเราทำงานด้าน Cloud ซึ่งแน่นอนว่าหนีไม่พ้น Container (โดยเฉพาะ Docker) หรือ Kubernetes อยู่แล้ว Linux Network จึงเป็นพื้นฐานอีกเรื่องที่สำคัญ ถ้ามีเวลาลองศึกษาส่วนนี้ด้วยครับ เพราะจะช่วยให้เข้าใจและเห็นภาพโลกของ Container และ Cloud ได้มากขึ้น
ถ้าคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ ฝากกด clap, follow และ share บทความนี้ให้ผมด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ ^_^